โครงงาน


การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
 วิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม
โดยใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog





โดย
นายศุภโชค แตงทอง
ครู อัตราจ้าง






กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนวัดยกกระบัตร(ชุบราษฎร์นุสรณ์)
อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษา
จังหวัดสมุทรสาคร






คำนำ


            เอกสารโครงงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามโดยใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดยกกระบัตร(ชุบราษฎร์นุสรณ์)โดยใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog”  ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเป็นแนวทางในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ หรือ กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ที่สนใจ อันจะส่งผลให้การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการสนองเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และ การปฏิรูปการศึกษาในด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้อีกทางหนึ่งด้วย
            ขอขอบท่านผู้อำนวยการฐิติมา แตงทอง โรงเรียนวัดยกกระบัตร(ชุบราษฎร์นุสรณ์)ที่กรุณาให้การสนับสนุน คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำ ในตลอดจนนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการจัดทำโครงงานวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง



                                                                                                            ผู้จัดทำโครงงาน
                                                                                                        22  ตุลาคม  2557













สารบัญ


เรื่อง                                                                                                                          หน้า
                                                                                 
คำนำ                                                                                                                           0
-  ความสำคัญของปัญหาการทำโครงงาน                                                       1
-  วัตถุประสงค์การทำโครงงาน                                                                      2
-  วิธีดำเนินการทำโครงงาน                                                                            3
-  สรุปผลการทำโครงงาน                                                                               9
            บรรณานุกรม                                                                                                              11
            ภาคผนวก

ภาคผนวก    ตัวอย่าง สื่อการเรียนรู้เรื่อง
การแยกตัวประกอบพหุนาม โดยใช้สื่อการเรียนรู้
Web Blog                                                                                                        13

ภาคผนวก    ชุดแบบฝึก                                                                                16

___________________________________________________________________________








1. ชื่อปัญหาของโครงงาน   “การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามโดยใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog” 
2. ปัญหาโครงงาน ทำอย่างไรนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำในห้องเรียนปกติ จะสามารถมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม สูงขึ้น
3. ที่มาและความสำคัญ
            ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้เกิดโอกาสและ ทางเลือกมากหมายในการศึกษา และการศึกษานับเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง ในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคมได้ เนื่องจากการศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองด้านต่างๆตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่การวางรากฐานการพัฒนาของชีวิตตั้งแต่แรกเกิด การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านต่างๆที่จะดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงรวมเป็นพลังสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนได้
            จากผลการสอบต่างๆ ที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการศึกษา จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนใฝ่รู้ ใฝ่เรียนด้วยตัวของของเขา ครูเป็นคนที่คอยเสนอแนะ ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงมีบทบาทและ ความสำคัญในฐานะเป็นสื่อเครื่องช่วยที่ดี ทำให้ครูสามารถช่วยถ่ายทอดแนวคิด ข้อเท็จจริง ทักษะ เจตคติ ความซาบซึ้ง ทำให้ผู้เรียนมองเห็นคุณค่าในเนื้อหาที่ครูสอน อันเป็นรากฐานที่จะทำให้เกิดความเข้าใจและความจำอย่างถาวรความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและจิตวิทยาการศึกษามีส่วนทำให้วิธีการถ่ายทอดความรู้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่ผ่านมา กล่าวคือ ในอดีตนั้นครูมีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน แต่ในปัจจุบัน มีการสอนผ่านวิทยุ โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีส่วนทำให้การถ่ายทอดความรู้และการสอนกว้างขวางออกไป

            ซึ่งแนวทางการแก้ไขการเรียนการสอนในปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาการมากขึ้น และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับครูผู้สอนในการที่จะอธิบายหรือยกตัวอย่างให้ผู้เรียนได้มองภาพพจน์ได้อย่างใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เช่นเดียวกับการจัดการเรียนการสอนในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นรายวิชาที่สามารถศึกษาเนื้อหาวิชาจากสื่อการเรียนรู้ Web Blog ก่อนเข้าเรียนในชั้นเรียน ซึ่งจะเป็นการบรรยายตามปกติ และจะสามารถทบทวนบทเรียนได้ในภายหลัง ซึ่งการจัดทำบทเรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กว่ารูปแบบการเรียนการสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว ทั้งในปัจจุบันมีการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ    ซึ้งต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง  เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้เรียนจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ   ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย มีความสนใจกระตือรือร้นและเกิดความอยากรู้อยากเห็น  สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้  ครูผู้สอน  ต้องมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมประเภท Multimedia   สามารถจัดทำสื่อนวัตกรรมออกมาใช้ในการเรียนการสอน    เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ   ผู้เรียนจะต้องสนใจ ใฝ่เรียนรู้ในเรื่องของการใช้นวัตกรรมในรูปแบบของไอทีให้มากขึ้น  เพื่อจะได้เกิดความคุ้นเคยแล้วสามารถใช้สื่อได้อย่างถูกต้อง   และสถานศึกษาต้องจัดทำสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์   ให้พร้อมเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและทำให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนมีความสมบูรณ์  ซึ้งจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปพัฒนาการศึกษาให้มีความเจริญ ก้าวหน้าต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
            1.  เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ในเรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม โดย          ใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog
            2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
            3.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog
สมมุติฐานของการศึกษา
            1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ Web Blog สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามทำให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
            2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog
ขอบเขตของการทำโครงงาน
            1. ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดยกกระบัตร(ชุบราษฎร์นุสรณ์) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2557  2 ห้องเรียน จำนวน 51 คน
            2.ตัวแปรที่ศึกษา คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม และ ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog

วิธีดำเนินการ
1 ประชากร / กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดยกกระบัตร
(ชุบราษฎร์นุสรณ์) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 คน
2. เครื่องมือการวิจัย
2.1  เครื่องมือในการแก้ปัญหา สื่อการเรียนรู้ Web Blog บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
สอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น ม.3 เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนาม ผลิตโดยครูผู้สอน
                  2.2  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบทดสอบก่อนเรียนละหลังเรียน แบบวัดความพึงพอใจต่อกิจการเรียนรู้โดยใช้ Web Blog
            3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบันทึกคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เข้าร่วมการวิจัยโครงงาน โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน Web Blog บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น ม.3 เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 51 คน
            4. สถิติที่ใช้ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
                   4.1 หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ Web Blog
                  4.2 หาค่าสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
 t-test dependent
            การเก็บรวบรวมข้อมูล
            -  เก็บคะแนนสอบก่อนเรียน
            -  สอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกัน

            การวิเคราะห์ข้อมูล
1.   แจกแจงความถี่และค่าร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ก่อนและหลังเรียน
2.   หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.   เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ก่อนและหลังการสอนโดยใช้สถิติ  
            T-test Dependent

ระยะเวลาในการดำเนินงาน
            29 ตุลาคม – 16 พ.ย. 2557

 

แผนการดำเนินโครงการ                     


ขั้นตอน/กิจกรรม
29 ต.ค.-2 พ.ย.57
3-9 พ.ย.57
10-16 พ.ย.57
-ศึกษาปัญหา/วิเคราะห์ปัญหา
ü





-กำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการ
ü





-จัดทำโครงการวิจัย

ü




-สร้างเครื่องมือ

ü




-ติดต่อหาผู้เชี่ยวชาญ


ü



-ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ


ü



-ปรับปรุงเครื่องมือ


ü



-ดำเนินการทดลองสอนตามโครงการ


ü



-เก็บรวบรวมข้อมูล



ü


-วิเคราะห์ข้อมูล



ü


-เขียนรายงานการวิจัย



ü


-ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ



ü


-เผยแพร่รายงานการวิจัย




ü
ü

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
            สื่อการเรียนรู้ Web Blog เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม
ขั้นตอนการดำเนินการ
            ในการดำเนินการศึกษาโครงงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการ
เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ใช้ Web Blog บทเรียนคอมพิวเตอร์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม โดยมีขั้นตอนดังนี้
            1. ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)
                         1.1 วิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์ผู้เรียนได้กำหนดไว้ดังนี้
                        ประชากร / กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดยกกระบัตร
(ชุบราษฎร์นุสรณ์) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 คน
                        1.2 วิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนดำเนินการมีดังนี้
                        เนื้อหาที่ใช้สร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 โดยใช้เนื้อหา เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม
            2. ขั้นออกแบบ (Design)
                        แบบฝึกทักษะ จำนวน 4 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ เนื้อหาเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบ
            3. ขั้นดำเนินการ มีขั้นตอนดังนี้
            ทำการทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดยกกระบัตร
(ชุบราษฎร์นุสรณ์) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 คน โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ ทั้ง 4 ฉบับและทำการบันทึกคะแนน แต่ก่อนที่จะทำให้นักเรียนศึกษาและฝึกทำแบบฝึกหัดจาก Web blog
            4.  ขั้นตอนวิเคราะห์ข้อมูล
                        4.1 วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ผลจากคะแนนที่ได้จากการทา แบบฝึกทักษะ ทั้ง 4  ฉบับ            
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล                               


5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
            จากการทำโครงงานวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาความสามสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องของการแยกตัวประกอบ โดยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2557 โรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์)
จำนวน 51 คน ผู้ศึกษาได้ทำการทดลองโดย
            ให้นักเรียนทำชุดฝึกทักษะการแยกตัวประกอบ จำนวน 4 ฉบับ โดยให้นักเรียนทำสัปดาห์ละ 1 ฉบับ แต่ก่อนทำชุดฝึกจะมีการสอนโดยใช้โปรแกรม PowerPoint ก่อนทุกครั้ง จากนั้นผู้ศึกษาทำการบันทึกคะแนน โดยสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
            5.1 ผลการวิเคราะห์คะแนนชุดฝึกทักษะทั้ง 4 ฉบับ


ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางแสดงผลคะแนนแบบฝึกหัดทั้ง 4 ฉบับ





















            จากตาราง แสดงให้เห็นว่าหลังจากที่นักเรียนทั้ง 51 คนได้ชุดฝึกคณิตศาสตร์เรื่องการแยกตัวประกอบแล้วทั้ง 4 ฉบับแล้วนักเรียนแต่ละคนมีผลคะแนนแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบคะแนนของแต่ละฉบับแต่ละคนแล้ว คะแนนการทำ แบบฝึกทักษะทั้ง 4 ฉบับโดยเฉลี่ยของนักเรียนทั้ง 51 คน ได้มีพัฒนาการในการทำแบบฝึกเรื่องการแยกตัวประกอบที่ดีขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้ว่า
            ชุดที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 60.5 เฉลี่ยทำได้ 12    คะแนน จาก 20 คะแนน
            ชุดที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 72.5 เฉลี่ยทำได้ 14.5 คะแนน จาก 20 คะแนน
            ชุดที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 81.5 เฉลี่ยทำได้ 16    คะแนน จาก 20 คะแนน
     และชุดที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 87.5 เฉลี่ยทำได้ 17.5 คะแนน จาก คะแนนเต็ม 20 คะแนน

สรุปผลการศึกษาวิจัย
            จากการศึกษาและวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากชุดฝึกคณิตศาสตร์เรื่อง การแยกตัวประกอบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ทั้ง 51 คน นั้นแสดงให้เห็นว่า คะแนนโดยเฉลี่ยทั้ง 4 ชุด คิดเป็นร้อยละ 75.5 และสามารถทำคะแนนเฉลี่ยได้ 15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ซึ่งสามารถแยกคิดเป็นแต่ละชุดได้ดังนั้นชุดที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 60.5 เฉลี่ยทำได้ 12 คะแนน จาก 20 คะแนน ชุดที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 72.5 เฉลี่ยทำได้ 14.5 คะแนน 8 จาก 20 คะแนน ชุดที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 81.5 เฉลี่ยทำได้ 16 คะแนน จาก 20 คะแนน และชุดที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 87.5 เฉลี่ยทำได้ 17.5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน
            อภิปรายผลการศึกษา
            จากการสร้างแบบฝึกทักษะเรื่องการแยกตัวประกอบ เพื่อช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 3 จำนวน 51 คน ในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้จากชุดฝึกทั้ง 4 ชุดนี้จะเห็นได้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการทางด้านการแยกตัวประกอบดีขึ้นเรื่อยๆ
            ข้อเสนอแนะ
            1. ในการทำโครงการครั้งต่อไปอาจเพิ่ม ปริมาณของกลุ่มตัวอย่างขึ้นและอาจเจาะจงทา การวิจัยกลุ่มนักเรียนที่เรียนอ่อนมากๆ เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป
            2. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
ควรใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog เพื่อให้นักเรียนผลการเรียนปกติด้วย
            3. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
ครูควรผลิตสื่อการเรียนรู้เอง เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ แล
บริบทของโรงเรียนยิ่งขึ้น

บรรณานุกรม

ทรงวิทย์  สุวรรณธาดา.  แบบฝึกมาตรฐานแม็คคณิตศาสตร์พื้นฐาน 3 ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)เล่มที่ 2
ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.  กรุงเทพ ฯ : แม็ค, 2547.
พนิดา  พิสิฐอมรชัย และคณะ.  แบบฝึกสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 2. กรุงเทพ ฯ : แม็ค, 2548.
ยุพิน  พิพิธกุลและสิริพร  ทิพย์คงชุดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คณิตศาสตร์ ม. 3 เล่ม 2
           
สุวัฒนา   สุวรรณเขตนิคม. เส้นทางสู่การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพ ฯ : บพิธการพิมพ์, 2538.
สุวิมล   ว่องวานิช .   การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน . กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2546.
อุทมพร    จามรมาน.  การวิจัยของครู.  กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น