ชื่อโครงงาน
การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์
เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนาม
(Development of learning to increase student
achievement Mathematics about factoring polynomials.)
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
อาจารย์เกรียงวุธ นีละคุปต์
จัดทำโดย
นายศุภโชค แตงทอง
ที่มาและความสำคัญ
ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและต่อเนื่อง
ทำให้เกิดโอกาสและ ทางเลือกมากหมายในการศึกษา
และการศึกษานับเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง
ในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคมได้
เนื่องจากการศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองด้านต่างๆตลอดช่วงชีวิต
ตั้งแต่การวางรากฐานการพัฒนาของชีวิตตั้งแต่แรกเกิด
การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านต่างๆที่จะดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข
รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงรวมเป็นพลังสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนได้
จากผลการสอบต่างๆ ที่ผ่านมา
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการศึกษา จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนใฝ่รู้
ใฝ่เรียนด้วยตัวของของเขา ครูเป็นคนที่คอยเสนอแนะ
ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงมีบทบาทและ ความสำคัญในฐานะเป็นสื่อเครื่องช่วยที่ดี
ทำให้ครูสามารถช่วยถ่ายทอดแนวคิด ข้อเท็จจริง ทักษะ เจตคติ ความซาบซึ้ง
ทำให้ผู้เรียนมองเห็นคุณค่าในเนื้อหาที่ครูสอน
อันเป็นรากฐานที่จะทำให้เกิดความเข้าใจและความจำอย่างถาวรความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและจิตวิทยาการศึกษามีส่วนทำให้วิธีการถ่ายทอดความรู้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่ผ่านมา
กล่าวคือ ในอดีตนั้นครูมีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน แต่ในปัจจุบัน
มีการสอนผ่านวิทยุ โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น
มีส่วนทำให้การถ่ายทอดความรู้และการสอนกว้างขวางออกไป
ซึ่งแนวทางการแก้ไขการเรียนการสอนในปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาการมากขึ้น
และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับครูผู้สอนในการที่จะอธิบายหรือยกตัวอย่างให้ผู้เรียนได้มองภาพพจน์ได้อย่างใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
เช่นเดียวกับการจัดการเรียนการสอนในวิชาคณิตศาสตร์
ซึ่งเป็นรายวิชาที่สามารถศึกษาเนื้อหาวิชาจากสื่อการเรียนรู้ Web Blog ก่อนเข้าเรียนในชั้นเรียน ซึ่งจะเป็นการบรรยายตามปกติ
และจะสามารถทบทวนบทเรียนได้ในภายหลัง ซึ่งการจัดทำบทเรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้ Web
Blog จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กว่ารูปแบบการเรียนการสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว ทั้งในปัจจุบันมีการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ซึ้งต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง
เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้เรียนจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
มีความสนใจกระตือรือร้นและเกิดความอยากรู้อยากเห็น
สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ ครูผู้สอน
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมประเภท Multimedia สามารถจัดทำสื่อนวัตกรรมออกมาใช้ในการเรียนการสอน
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ ผู้เรียนจะต้องสนใจ
ใฝ่เรียนรู้ในเรื่องของการใช้นวัตกรรมในรูปแบบของไอทีให้มากขึ้น เพื่อจะได้เกิดความคุ้นเคยแล้วสามารถใช้สื่อได้อย่างถูกต้อง
และสถานศึกษาต้องจัดทำสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์
ให้พร้อมเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและทำให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนมีความสมบูรณ์
ซึ้งจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปพัฒนาการศึกษาให้มีความเจริญ
ก้าวหน้าต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
ในเรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม โดย ใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้
Web Blog
สมมุติฐานของการศึกษา
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ Web Blog สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง
การแยกตัวประกอบพหุนามทำให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้
Web Blog
ขอบเขตของการทำโครงงาน
1.
ประชากร
คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดยกกระบัตร(ชุบราษฎร์นุสรณ์)
อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2557 2 ห้องเรียน จำนวน 51 คน
2.ตัวแปรที่ศึกษา คือ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม และ
ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้ Web Blog
วิธีดำเนินการ
1 ประชากร
/ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 โรงเรียนวัดยกกระบัตร
(ชุบราษฎร์นุสรณ์)
อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 คน
2. เครื่องมือการวิจัย
2.1 เครื่องมือในการแก้ปัญหา สื่อการเรียนรู้ Web
Blog บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
สอน
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น ม.3 เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนาม ผลิตโดยครูผู้สอน
2.2 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบทดสอบก่อนเรียนละหลังเรียน
แบบวัดความพึงพอใจต่อกิจการเรียนรู้โดยใช้ Web Blog
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบันทึกคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เข้าร่วมการวิจัยโครงงาน
โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน Web Blog บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น ม.3 เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม
โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดยกกระบัตร
(ชุบราษฎร์นุสรณ์) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 51 คน
4. สถิติที่ใช้ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1
หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ Web Blog
4.2 หาค่าสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
t-test dependent
การเก็บรวบรวมข้อมูล
- เก็บคะแนนสอบก่อนเรียน
- สอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกัน
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. แจกแจงความถี่และค่าร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน
2. หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ก่อนและหลังการสอนโดยใช้สถิติ
T-test Dependent
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
29 ตุลาคม – 16 พ.ย.
2557
แผนการดำเนินโครงการ
ขั้นตอน/กิจกรรม
|
29 ต.ค.-2 พ.ย.57
|
3-9 พ.ย.57
|
10-16 พ.ย.57
|
|||
-ศึกษาปัญหา/วิเคราะห์ปัญหา
|
ü
|
|
|
|
|
|
-กำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการ
|
ü
|
|
|
|
|
|
-จัดทำโครงการวิจัย
|
|
ü
|
|
|
|
|
-สร้างเครื่องมือ
|
|
ü
|
|
|
|
|
-ติดต่อหาผู้เชี่ยวชาญ
|
|
|
ü
|
|
|
|
-ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
|
|
|
ü
|
|
|
|
-ปรับปรุงเครื่องมือ
|
|
|
ü
|
|
|
|
-ดำเนินการทดลองสอนตามโครงการ
|
|
|
ü
|
|
|
|
-เก็บรวบรวมข้อมูล
|
|
|
|
ü
|
|
|
-วิเคราะห์ข้อมูล
|
|
|
|
ü
|
|
|
-เขียนรายงานการวิจัย
|
|
|
|
ü
|
|
|
-ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
|
|
|
|
ü
|
|
|
-เผยแพร่รายงานการวิจัย
|
|
|
|
|
ü
|
ü
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. จากการทำโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. นักเรียนมีทัศนะคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์และสนใจเรียนมากขึ้น
3. จากการสอบถามโดยใช้แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ Web Blog พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่ดีถึงดีมากที่สุด
บรรณานุกรม
ทรงวิทย์ สุวรรณธาดา.
แบบฝึกมาตรฐานแม็คคณิตศาสตร์พื้นฐาน 3
ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)เล่มที่ 2
ภาคเรียนที่ 2
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพ ฯ : แม็ค, 2547.
พนิดา พิสิฐอมรชัย และคณะ. แบบฝึกสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 2.
กรุงเทพ ฯ : แม็ค, 2548.
ยุพิน พิพิธกุลและสิริพร ทิพย์คง. ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คณิตศาสตร์ ม. 3
เล่ม 2.
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม. เส้นทางสู่การวิจัยในชั้นเรียน.
กรุงเทพ ฯ :
บพิธการพิมพ์, 2538.
สุวิมล ว่องวานิช .
การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน . กรุงเทพ ฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2546.
อุทมพร จามรมาน.
การวิจัยของครู. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2537.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น