ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม

แนวคิด ทฤษฎี  ของนวัตกรรมมี 4 ทฤษฎี คือ
  1. ทฤษฎี Schumpeter’s theory of innovation
Schumpeter เป็นค้นคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ก็คือ การทำลายสิ่งที่สร้างสรรค์ ซึ่งมีการคิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อที่จะทำลายสิ่งที่มีอยู่เดิม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรเพิ่มขึ้นให้กับองค์กร การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยกลยุทธ์นวัตกรรม
ประเภทของนวัตกรรม -ของ Schumpeter ได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
  1. การเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร
  2. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือกระบวนการนำนวัตกรรมสู่ตลาด
  3. การเปลี่ยนตำแหน่งนวัตกรรมสินค้าที่เคยออกสู่ตลาดมาแล้ว ให้มีการรับรู้สิ่งใหม่
  4. การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นวัตกรรมองค์กรให้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่
  5. ทฤษฎี แบบผ่าเหล่าผ่ากอ
         เป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์ เคลย์ตัน คริสเตนเซน ที่บอกว่าทฤษฎี แบบผ่าเหล่าผ่ากอเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีสินค้าหรือบริการ ที่สามารถที่จะล้มล้างเทคโนโลยี สินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิมมาเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
  1. การเปลี่ยนแปลงตลาด
  2. การนำเสนอเทคโนโลยีใหม่
3. ทฤษฎีหุบเหวแห่งการดับของนวัตกรรม
          การยอมรับนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมโดยนวัตกรรมใดที่สังคมมีความต้องการ และเกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ สังคมนั้นๆก็จะมีการยอมรับนวัตกรรมตัวนี้   แต่ถ้านวัตกรรมใดที่สังคมต้องการน้อยและมีปัญหาเกิดขึ้นนวัตกรรมตัวนี้ก็จะถูกดับไป
  1. ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม
          เกิดจากการผ่านกระบวนการใช้เทคโนโลยีที่ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ประดิษฐ์และผู้ใช้ในสังคม กลับไปกลับมาหลายครั้งจนเกิดการยอมรับในสังคม กลุ่มคนในสังคมที่ยอมรับการแพร่กระจายทางเทคโนโลยีมีด้วยกัน 5 ประเภทคือ
  1. คนกลุ่มแรกในสังคม เป็นทั้งผู้ประดิษฐ์คิดค้นแล้วยังเป็นผู้ใช้งานที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี และชอบติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอนั่นเอง
  2. กลุ่มที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ และค่อนข้างมีฐานะ เป็นนักวิชาการหรือคนดังในสังคม
  3. กลุ่มนี้จะตัดสินใจได้ต้องคิดหลายรอบแต่ต้องใช้งานได้ง่าย และมีประโยชน์ของนวัตกรรม
  4. กลุ่มที่มีการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอาจจะเริ่มตกรุ่นไปแล้ว และมีความจำเป็นที่จะใช้งานจริงๆ
  5. กลุ่มที่มีการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเมื่อตกรุ่นไปแล้ว และเป็นกลุ่มสุดท้ายในสังคม
สถานะในการแพร่กระจายของเทคโนโลยีในสังคมมี 3 สถานะคือ
          สถานะที่ 1 เป็นช่วงเวลาของการประดิษฐ์คิดค้นจนพบความสำเร็จ
          สถานะที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่สังคมได้รับรู้ถึงเทคโนโลยีในสังคม
          สถานะที่ 3 เป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีอิ่มตัว มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดและไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้อีก


ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
1 นวัตกรรมทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
2 นวัตกรรมทางการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก
นวัตกรรมทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถแบ่งได้ 5 ด้านคือ
1.นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเรียนการสอน
3.นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา
4. นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการวัดและประเมินผล
5. นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการบริหารและบริการ

นวัตกรรมทางการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท
  1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล                          
  2. ความพร้อม
  3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา                                           
  4. ประสิทธิภาพในการเรียน
หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษา ประกอบด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นออกมา
2. กลุ่มปัญญานิยม คือเรียนรู้เป็นกระบวนการของจิตที่ต้องมีการรับรู้จากการกระทำ และตีความ สามารถให้เหตุผลจนเกิดเป็นความรู้
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม คอนสตรัคติวิสต์ เป็นการอาศัยประสบการณ์เดิม ทางปัญญาที่มีอยู่เดิม
4...ทฤษฏีการสื่อสาร คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคล โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน
5. ทฤษฏีระบบ จัดเป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นช่วงปลายศรวรรษที่ 20 โดยอาศัยทฤษฏีหลายสาขาวิชา โดยนำแนวคิดแต่ละวิชามาประยุกต์รวมกัน สร้างเป็นทฤษฏีระบบขึ้นมา        
6. ทฤษฏีการเผยแพร่ เกิดจากการผสมผสานทฤษฏีหลักการ และความรู้ ความจริงจากหลานสาขาวิชา มาเป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ มาเผยแพร่ขึ้น

นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของคนไทยในปัจจุบัน
1. วงการศึกษาปัจจุบัน นำนวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่นวัตกรรมเหล่านี้ก็ยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในวงการศึกษาปัจจุบัน
2. ปัจจุบันเริ่มมีการใช้E-learning ที่เป็นการเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ที่แสดงเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์รูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติที่ผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถและความสนใจของตนโดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งจะประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งผ่านผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้
ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. ช่วยพัฒนาศักยภาพ และความสามารถสูงสุดของบุคคล
2. ช่วย ขยายขอบเขตความรู้ และโลกทัศน์ทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ช่วยลดปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. ช่วยเปิดโอกาสทางการเรียนให้กับผู้เรียนอย่างทั่วถึง
5. ช่วยให้คนสามารถปรับตัวในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
6. ช่วยให้ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

ที่มา
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษานวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2517). “เทคนิควิทยาทางการศึกษา” นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าม.
ที่มาของภาพ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น