คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง วิถีทางของการสอนรายบุคคลโดยอาศัยความสามารถของ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการ แสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วยบทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่าง เหมาะสมประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 1. บทเรียน (Tutorial) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียนโปรแกรม ที่เสนอเนื้อหาความรู้เป็นส่วนย่อย ๆเลียนแบบการสอนของครู 2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ (Drill and Practice) ส่วนใหญ่ใช้เสริมการสอน ลักษณะที่นิยมกันมากคือ การจับคู่ ถูก-ผิด เลือกข้อถูกจากตัวเลือก 3. จำลองแบบ (Simulation) นิยมใช้กับบทเรียนที่ไม่สามารถทำให้เห็นจริงได้ 4. เกมทางการศึกษา (Educational Game) 5. การสาธิต (Demonstration) นิยมใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6. การทดสอบ (Testing) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน 7. การไต่ถาม (Inquiry) ใช้เพื่อการค้นหาข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด 8. การแก้ปัญหา (Problem Solving) เน้นการให้ฝึกการคิดการตัดสินใจ 9. แบบรวมวิธีต่าง ๆ เข้าด้วย (Combination) ประยุกต์เอาวิธีสอนหลายแบบมารวมกันตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ |
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามเอกัตภาพ 2.ผู้เรียนมีโอกาสเรียนซ้ำได้หลายครั้งเท่าที่ต้องการ 3.ผู้เรียนมีโอกาสโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์และสามารถควบคุมการเรียนได้เอง 4.มีภาพ ภาพเคลื่อนไหว สี เสียง ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายการเรียน 5.ตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ 6.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามขั้นตอนจากง่ายไปยาก หรือเลือกบทเรียนได้ 7.ฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผลลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการเรียนการสอนแบบรายบุคคล ที่นำเอาหลักการของบทเรียนโปรแกรมและเครื่องช่วยสอน มาผสมผสานกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนองในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็นรายบุคคล คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้ 1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2.ขั้นการเสนอเนื้อหา 3.ขั้นคำถามและคำตอบ 4.ขั้นการตรวจคำตอบ 5.ขั้นของการปิดบทเรียนลักษณะของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี มีดังนี้ 1. สร้างขึ้นตามจุดประสงค์ของการสอน 2. เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน 3. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้มากที่สุด 4. มีลักษณะเป็นการสอนรายบุคคล 5. คำนึงถึงความสนใจของผู้เรียน 6. สร้างความรู้สึกในทางบวกกับผู้เรียน 7. จัดทำบทเรียนให้สามารถแสดงผลย้อนกลับไปยังผู้เรียนให้มาก ๆ 8. เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน 9. มีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนอย่างเหมาะสม 10.ใช้สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงข้อจำกัด บางอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บนพื้นฐานของการออกแบบ การสอนคล้ายกับการผลิตสื่อชนิดอื่น ๆควรมีการประเมินผลทุกแง่ทุกมุม |
ดูรายละเอียดได้ที่.. บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น