นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมคืออะไร?
สำหรับองค์กร นวัตกรรมมีความสำคัญมาก นายคริสโตเฟอร์ ฟรีแมน กล่าวไว้ว่า ..... ถ้าเราไม่มีการสร้างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ ก็เหมือนกับคนที่ตายไปแล้ว......... หลาย ๆ องค์กรได้มีการนำเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรมจนทำให้ประสบความสำเร็จในปัจจุบันดังตัวอย่าง

นวัตกรรม มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินคือ Innovare ซึ่งหมายถึง การทำสิ่งใหม่ขึ้นมา การประดิษฐ์ (Invention) มีความหมายที่แตกต่างจากนวัตกรรม เพราะการประดิษฐ์ จะมีความหมายที่เน้นเฉพาะในแง่ของการประดิษฐ์ขึ้นมาเท่านั้น อาจจะประสบความสำเร็จในทางธุรกิจหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ประดิษฐ์จะมีแนวทางหรือรูปแบบธุรกิจที่จะทำให้การประดิษฐ์นั้นมีการความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์  นวัตกรรมนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร บุคคล สังคม และเศรษฐกิจ ดังนั้นมีผู้ให้คำนิยาม สำหรับคำว่า นวัตกรรม หลายแง่มุม ดังนี้ [1]
1. นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ เช่น แนวคิด ผลิตภัณฑ์ หรือโครงการที่มีผู้เห็นว่าใหม่สำหรับตน
2. นวัตกรรม นวัตกรรม คือกระบวนการรับสิ่งใหม่ ๆ เพื่อมาปรับปรุงให้เกิดแก่ตน (บุคคล องค์กรหรือสังคม) ทั้งในรูปแบบเทคนิควิธีการหรือสิ่งที่จับต้องได้ จนทำให้เกิดนวัตกรรม
3. นวัตกรรม คือ การคิดค้นและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา โดยอาศัยความรู้ ความชำนาญที่มีอยู่ในตน (บุคคล องค์กรหรือสังคม) และอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ จนทำให้เกิดนวัตกรรม
4. นวัตกรรม คือ คุณลักษณะของบุคคล องค์กรหรือสังคมที่มุ่งแสวงหาการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ จนทำให้เกิดนวัตกรรม
5. นวัตกรรม คือ การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการผลิตใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม[2]   

นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้  ต้องมากจากความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กรนั้นๆ  เราจะต้องทำให้ทุกคนมีโอกาสในการสร้างนวัตกรรม   ซึ่งนวัตกรรมสามารถแบ่งได้เป็น ระดับ  คือ
1.  Improvement  Innovation  ที่ทุกคนสามารถคิดได้  ทำได้ที่หน้างานของตนเอง  ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสร้างฐานความคิดเชิงพัฒนาให้กับทีมงานเริ่มต่อยอด  เชื่อมโยง  ทำสิ่งที่ใหญ่ขึ้น  ยกระดับสิ่งที่พัฒนาขึ้นมากจนเห็นความแตกต่าง เช่น นิ้วมหัศจรรย์ของ บริษัท NOK เป็นต้น
2.  Incremental  Innovation  ส่วนมากจะเกิดจากการต่อยอดความคิด  เชื่อมโยงกระบวนการและเทคโนโลยีมาสร้างเป็นสิ่งใหม่ที่ดีและมีคุณค่ามากกว่าเดิม เช่น การสร้างเทคโนโลยีใหม่ของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
3.  Break through Innovation  เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมี  ผู้อื่นต้องใช้เวลาตามเรา  เป็นการสร้างโอกาสที่เป็นผู้นำในตัวสินค้าหรือบริการ  ก่อให้เกิดคุณค่าแก่ลูกค้าและประสบความสำเร็จในตลาดอย่างชัดเจน เช่น Google เป็นต้น 

ประเภทของนวัตกรรม
นวัตกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. นวัตกรรมที่จับต้องได้ (Tangible Innovation) เป็นนวัตกรรมที่เน้นในส่วนของ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) แบ่งได้เป็น
1.1 ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible product) เป็นนวัตกรรมที่ผู้ผลิตสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาและผู้ใช้สามารถเห็นและสัมผัสได้ เช่น รถยนต์รุ่นใหม่ เครื่องเล่นดีวีดีรุ่นใหม่ โทรศัพท์มือถือระบบใหม่ เป็นต้น
1.2 ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Product) เป็นบริการ (Service) ที่ผู้ให้บริการพยายามสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่น การใช้ Internet Banking ของธนาคาร การขาย Software ทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2. นวัตกรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Innovation) เป็นนวัตกรรมที่เน้นในส่วนของ นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เพราะทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ในองค์กรมีการเปลี่ยนแปลง แบ่งได้เป็น
2.1 นวัตกรรมขบวนการทางเทคโนโลยี (Technological Process Innovation) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาทำให้กระบวนการ และรูปแบบการทำงานในองค์มีการพัฒนามากขึ้น เช่น การนำหุ่นยนต์ (Robot) มาใช้ในการผลิตรถยนต์ ธนาคารนำตู้ถอน-ฝากเงินอัตโนมัติ (ATM) มาใช้ เป็นต้น
2.2 นวัตกรรมขบวนการทางองค์กร (Organization Process Innovation) เป็นการนำเอาระบบการบริหารงานรูปแบบใหม่เข้ามาพัฒนากระบวนการและขีดความสามารถทางการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  เช่น ระบบ Just In Time(JIT) ของโตโยต้า Six Sigma ของการบินไทย Balanced Scorecard (BSC) ของธนาคารกสิกรไทย เป็นต้น

กระบวนการจัดนวัตกรรม 
มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
1. เริ่มจากการที่มีพันธกิจ  เป้าหมาย  และวิสัยทัศน์ขององค์กร  ยึดไว้เป็นหลักในการที่จะวิเคราะห์สภาพการณ์และหาแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง
2.  วิเคราะห์คู่แข่งทางธุรกิจ   เพื่อที่จะสามารถตามได้ทันและสร้างความแตกต่างได้
3.  วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก   ดูความต้องการของตลาด  สภาพเศรษฐกิจ  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  วัตถุดิบ  หรือผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถเข้ามาทดแทนได้ในอนาคต
4.  วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน  ดูรูปแบบโครงสร้างขององค์กร  การบริหารจัดการที่เป็นอยู่  สถานะทางการเงิน  การพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์   ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและแผนการดำเนินงาน
5.  จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาเป็นปัจจัยในการกำหนดกลยุทธ์และยุทธวิธีที่จะนำไปสู่นวัตกรรมที่ตรงตามพันธกิจและวิสัยทัศน์
6.  นำแผนงานและกลยุทธ์ที่วางไว้มาดำเนินการปฏิบัติจริง
7.  ประเมินผลการทำนวัตกรรม  โดยเน้นพฤติกรรมของคนในองค์กรที่เปลี่ยนไปว่าเป็นตามที่ต้องการหรือไม่ก่อน  อย่าไปคาดหวังที่ผลเลยมากเกินไป   ต้องค่อยๆปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป

จากในอดีตจนถึงปัจจุบัน นวัตกรรมได้เข้ามามีบทบาทต่อความเจริญก้าวหน้าขององค์กรและปัจเจกบุคคล เราสามารถยกตัวอย่างนวัตกรรมที่สำคัญได้ดังต่อไปนี้
 1.นวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์
                1.1  พลังงานดิบกับพลังงานบริสุทธิ์ จากในอดีตพลังงานมีการใช้จากถ่านหิน น้ำมัน และ
สารอินทรีย์ต่าง ๆ เช่นแอลกอฮอล์ เป็นต้น มาเป็นพลังงานปรมาณูหรือพลังงานนิวเคลียร์ และจนถึงปัจจุบันที่มีการพัฒนามาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ซึ่งถือว่าเป็นพลังงานบริสุทธิ์
                1.2  การบินส่วนบุคคลกับการบินเชิงพาณิชย์ จากต้นศตวรรษที่ 20 พี่น้องตระกูลไร้ท์ ได้สร้าง
เครื่องบินที่สามารถบินได้เพียง 10 วินาที เป็นระยะทาง 100 หลา จนปัจจุบันสามารถพัฒนามาเป็นเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์หลากหลายบริษัท เช่น บ. แมกดอนเนล ดักลาส จำกัด บ. โบอิ้ง จำกัด เป็นต้น
                1.3 สายพันธุกรรมกับเทคโนโลยีชีวภาพ จากการที่มนุษย์สามารถเข้าใจความลี้ลับของสาย
พันธุกรรมซึ่งก็คือยีนส์ (Genes) และโครโมโซม (Chromosome) ทำให้มีการวิจัยและสามารถพัฒนาสายพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งเรียกว่า (GMO) หลาย ๆ องค์กรโดยเฉพาะเอกชนสามารถนำไปสร้างรายได้ให้กับกิจการ แต่ก็ถูกการคัดค้านกับผู้ที่ยังไม่เห็นด้วยกับการตัดต่อยีนส์หรือโครโมโซม แต่ที่เป็นประเด็นสำคัญกว่าก็คือการโคลนนิ่ง(Cloning) สัตว์หรือมนุษย์ ซึ่งยังเป็นหัวข้อที่ยังถกเถียงถึงความถูกต้องทางจริยธรรมหรือไม่
1.4            อิเลคโทรนิคส์กับระบบสารสนเทศ จากการพัฒนาของวรจรอิเลคโทรนิคส์ในปี ค.ศ.1970
สามารถทำให้มีการพัฒนาเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เครื่องแรกคือ Mainframe ซึ่งมีมูลค่า 20 ล้านบาท ในพื้นที่ห้อง 150 ตารางเมตร ต้องใช้ระบบหล่อเย็นของเครื่องทำความเย็นขนาด 10 ตัน มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท เพียง 30 ปีผ่านไป เครื่องคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถเชื่อมโยงจนเป็นเครือข่ายออกไป โดยเฉพาะเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้นนวัตกรรมทางด้านสารสนเทศ จึงเป็นระบบที่สำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการเปลี่ยนแปลงมวลมนุษยชาติ ภายในระยะเวลาสั้น ๆ สามารถทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบหลาย ๆ ด้านมากกว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นของโลกที่ผ่านมาในอดีต       

2. นวัตกรรมทางด้านธุรกิจ ได้มีการเกิดขึ้นของธุรกรรมใหม่ ๆ อย่างหลากหลายและสามารถนำไปประยุกต์ต่อกิจการ และทำให้เกิดนวัตกรรมของธุรกิจรูปแบบใหม่ (New Paradigm Business) ซึ่งปัจจัยที่สำคัญและทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาประกอบด้วย
                2.1 ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) เป็นการประสานเทคโนโลยีทั้งด้าน ภาพ (Image) หนังสือ (Text) เสียง (Voice) เข้าเป็นระบบด้วยกันทำให้มีกิจการสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย
                2.2 ระบบการสื่อสารข้อมูล (Data Communication)  มีการพัฒนาในช่วงทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ที่ทำให้การติดต่อสื่อสารมีการพัฒนาไปมากโดยอาศัยเครือข่ายสัญญาณที่สำคัญคือ ดาวเทียม ไมโครเวฟ สายโทรศัพท์ สายไยแก้วนำแสง ซึ่งทำให้ธุรกรรมต่าง ๆ สามารถส่งผ่านข้อมูลระหว่างซีกโลกได้ ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
                2.3 ระบบฐานข้อมูล (Database System) เป็นระบบที่ช่วยทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถวางแผนและพัฒนากิจการเพื่อเข้าถึงผู้ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด เช่น ลูกค้า พนักงานในองค์กร หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น  ระบบฐานข้อมูลจึงเป็นระบบที่กิจการเป็นอันมาก ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
     
3. นวัตกรรมทางด้านการจัดการ ในอดีตการบริหารองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด บางองค์กรก็ประสบความสำเร็จ แต่บางองค์กรก็ล้มเหลว ซึ่งองค์ประกอบทางด้านการจัดการที่สำคัญประกอบด้วย คน (Man) เครื่องจักร (Machine) วัตถุดิบ (Material) เงิน (Money) ตลาดหรือลูกค้า (Market) และ การจัดการ (Management) ปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดต่อการบริการก็คือ คนหรือบุคลากร เพราะเป็นผู้ที่สร้างสรรค์ให้องค์ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวนั่นเอง ตารางด้านล่างเป็นตารางที่แสดงถึงนัวตกรรมทางการบริหารที่เปลี่ยนแปลงมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  

ช่วงทศวรรษ
นวัตกรรมทางด้านการบริหาร
ก่อนปี 1960
- เน้นคนเป็นเครื่องจักร เพื่อเป็นแรงงานในการผลิต (ทฤษฎี X)
- เน้นประสิทธิภาพการทำงานเฉพาะอย่าง (Specialization)
1960
- ให้ความสำคัญกับมนุษย์มากขึ้น (ทฤษฎี y)
- เน้นประสิทธิภาพการทำงานกับคุณค่าของมนุษย์
1970
- การบริหารเชิงมุ่งหวังผล (Management By Objectives(MBO))
- เน้นคุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life)
1980
- กลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle)
- เน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน (Work Productivity)
- กำหนดข้อกำหนดระบบมาตรฐานสากลระหว่างประเทศ (International 
   Standard Organization (ISO))
- การบริหารการจัดการเชิงคุณภาพรวม (Total Quality  Management
   (TQM)) ทำให้เกิดเป็นระบบการบริหารที่มีคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
1990
- ระบบการเอื้ออำนาจ (Empowerment) เพื่อเชื่อมโยงการมอบหมายงาย
  (Delegation) กับภาวะผู้นำ (Leadership)
- ระบบรีเอนจิเนียริ่ง (Reengineering) เป็นการปรับรื้อระบบใหม่ทั้งองค์กร
- ระบบองค์กรเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นการทำให้องค์กรมีการ
พัฒนาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งเป็นทีมและบุคคลเพื่อทำให้องค์กรพัฒนาในระยะยาวได้ 
ศตวรรษที่ 21
- ระบบการบริหารภูมิปัญญา (Knowledge Management) เป็นแนวความคิดทางด้านพัฒนาการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
ตารางที่ 1-1 การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางด้านการบริหาร

ดังนั้น นวัตกรรม (Innovation) ด้านต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมานั้นไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการผลิตเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกหรือสร้างความปลอดภัย นวัตกรรมด้านธุรกิจที่ช่วยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้กับองค์กร หรือนวัตกรรมด้านการบริหารที่ช่วยให้องค์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการนำแนวความคิดกับการบริหารใหม่ ๆ มาใช้ในองค์กร ทั้งหมดนี้ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้ทันสมัยและเข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างต่อเนื่องตลอดไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น